NEWS&UPDATE

12 เมนูตัวอย่างในรูปนี้ก็ไม่จำเป็นต้องจำนะครับว่าเมนูไหน กี่กิโลแคลอรี่ ขอแค่จำแนกให้ได้ว่า หากไปเจออาหารจานเดียวเมนูใดๆก็ตามที่ #ไม่ใช่ขนาดพิเศษ #เอาของสดมาทำให้สุกด้วยน้ำมันเพียงรอบเดียว คือไม่ใช่การ #ของทอดแล้วไปผัดหรือไปใส่แกงกะทิอีกรอบ และไม่ใช่การ #เอาของไขมันสูงๆอยู่แล้วไปทอดไปผัดไปทำแกงกะทิอีก แบบเมนูตัวอย่างในรูปนี้ ให้รู้ไว้ว่ามีพลังงานโดยปะมาณ #400ถึง600กิโลแคอรี่ ตัวอย่าง หากวันไหนเรากินอาหารในกลุ่ม 2 นี้ทั้ง 3 มื้อเลย พลังงานที่เราได้จากอาหารมื้อหลักในวันนั้นก็จะไม่เกิน 1200 - 1800 กิโลแคลรี่

8 เมนูตัวอย่างในรูปนี้ก็ไม่จำเป็นต้องจำนะครับว่าเมนูไหน กี่กิโลแคลอรี่ ขอแค่จำแนกให้ได้ว่า หากไปเจออาหารจานเดียวเมนูใดๆก็ตามที่ #ไม่ใช่ขนาดพิเศษ #ไม่ใช้น้ำมันหรือเนยหรือกะทิ และ #ไม่มีของไขมันสูง แบบเมนูตัวอย่างในรูปนี้ ให้รู้ไว้ว่ามีพลังงานโดยปะมาณ #ไม่เกิน400กิโลแคอรี่ ตัวอย่าง หากวันไหนเรากินอาหารในกลุ่ม 1 นี้ทั้ง 3 มื้อเลย พลังงานที่เราได้จากอาหารมื้อหลักในวันนั้นก็จะไม่เกิน 1200 กิโลแคลรี่

สุขภาพดีศิริราช ตอน "ได้ยินไม่ชัด" อาจเป็นสัญญาณเตือน "ประสาทหูเสื่อม" โดย รศ. พญ. สุวัจนา อธิภาส ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล

ร่วมพูดคุยและรับคำแนะนำว่าควรทำอย่างไรเมื่อมีอาการหูอื้อ หูดับ สาเหตุของอาการเหล่านี้มาจากอะไรบ้าง มีวิธีการรักษาได้อย่างไรบ้าง กับ พญ.นวรัตน์ อภิรักษ์กิตติกุล แพทย์เฉพาะทางหู คอ จมูก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

หูชั้นนอกอักเสบ (Acute Otitis Externa) เป็นโรคที่พบบ่อยอันดับต้นๆ ของแผนกหูคอจมูก ส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่คนไข้ทำความสะอาดช่องหูโดยการแคะหรือปั่นหูบ่อยๆ หรือมีประวัติปวดหูหลังว่ายน้ำ การติดเชื้อบริเวณนี้อาจเป็นการอักเสบเฉพาะที่หรือในบางรายที่การติดเชื้อลามไปอาจกลายเป็นฝีหนองในช่องหูได้ อาการที่พบบ่อยคือ คันในรูหู ปวดหู หูอื้อ ได้ยินลดลง อาจมีน้ำเหลืองหรือหนองไหลออกจากช่องหู บางรายที่ติดเชื้อจนเป็นฝีหนองอาจมีไข้ร่วมด้วยได้ วิธีการรักษา ทำความสะอาดรูหูอย่างถูกต้อง โดยที่รพ.จะใช้เครื่องมือดูดหนองหรือของเหลวออกจากหู ยาหยอดหูเพื่อฆ่าเชื้อเฉพาะที่ ซึ่งแพทย์จะสั่งยาให้ตามความเหมาะสมเนื่องจากการติดเชื้อนั้นอาจจะเป็นเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา โดยหยอดวันละ3-4ครั้งตามแพทย์แนะนำ กรณีที่ช่องหูบวมมาก อาจมีการใส่ผ้าก๊อซชิ้นเล็กๆชุบยาฆ่าเชื้อผสมสเตียรอยด์เพื่อลดบวมร่วมด้วย หากหูชั้นนอกบวมอักเสบมากหรือเป็นฝีหนอง แพทย์อาจให้รับประทานยาฆ่าเชื้อเพื่อรักษาการติดเชื้อ อาจรับประทานยาแก้ปวดตามอาการเช่น NSAID , Paracetamol กรณีรับประทานยาหรือหยอดยาฆ่าเชื้อแต่ไม่ดีขึ้น อาการปวดรุนแรงมาก มีไข้ เป็นฝีหนองขนาดใหญ่ แพทย์อาจให้การรักษาโดยให้ยาฆ่าเชื้อทางหลอดเลือดและนอนรพ.เพื่อติดตามอาการ

“สุขภาพหู” ต้องดูแลให้ถูกวิธี ส่งผลดีต่อการได้ยิน การละเลยการดูแล “สุขภาพหู” อาจทำให้ประสาทหูเสื่อมไว ประสิทธิภาพการได้ยินลดลง การรับรู้ การสื่อสารคลาดเคลื่อน สูญเสียความมั่นใจในการสื่อสารกับผู้อื่น ขาดการกระตุ้นสมอง เพิ่มความเสี่ยงภาวะสมองถึง 2 เท่า ดูแลหูอย่างไร ไม่ให้ประสาทหูเสื่อมไว หลีกเลี่ยงเสียงดัง หรือใส่อุปกรณ์ป้องกันหูเมื่ออยู่ในที่เสียงดัง จำกัดความดังของเสียง ควบคุมโรคประจำตัวเช่นเบาหวาน และ งดสูบบุหรี่ งดยาบางประเภทที่เป็นส่งผลร้ายต่อหู หากเกิดความผิดปกติในการได้ยิน ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที การดูแลสุขภาพหูของตนเองอย่างถูกวิธีนั้น นอกจากจะช่วยให้สามารถใช้ชีวิตได้สะดวกขึ้นแล้ว ยังเป็นวิธีที่ช่วยปกป้องสมอง ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้อีกด้วย ข้อมูลโดย : อ.ดร.พญ.นัตวรรณ อุทุมพฤกษ์พร ฝ่ายโสต ศอ นาสิก วิทยา

จอประสาทตาหลุดลอก กับ วุ้นในตาเสื่อม คืออะไร?โดย พญ.อิสรา โภคาวัฒนา โรงพยาบาลลาดพร้าว Ladprao Hospital

Doctor On Air | ตอน การดูแลสุขภาพตาตามช่วงวัยโดย พญ.เขมวรรณ เวทยไวกูณฐ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยา, จักษุแพทย์กระจกตา, ผ่าตัดแก้ไขปัญหาสายตา

สีตาบอกโรคได้ 1. ดวงตาดำคล้ำ มีภาวะโรคภูมิแพ้ โรคไซนัส หรือโพรงจมูกอักเสบ 2. ตาดำมีสีขาวขุ่น ภาวะเสี่ยงต่อโรคต้อกระจก 3. ตาขาวมีสีออกแดง เกิดการระคายเคือง ตาติดเชื้อ หรืออักเสบ 4. ตาขาวมีจุดเหลืองที่หัวตา คอเลสเตอรอลสูง 5. ตาขาวมีสีเหลือง ตับทำงานผิดปกติ เสี่ยงต่อโรคตับอักเสบ หรือโรคดีซ่าน 6. ตาดำมีสีเขียว ภาวะเสี่ยงต่อโรคต้อหินในบางกรณี ถ้าหากสังเกตดวงตาแล้วมีอาการผิดปกติ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และได้รับการรักษาต่อไป

โรคตาแห้ง “โรคตาแห้ง” โรคสุดฮิตที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของคนวัยทำงาน ความจำเป็นที่ต้องจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์ทุกวัน และทุกเวลาของคนวัยทำงาน

ภาวะหมดไฟในการทำงาน (burnout syndrome) ไม่ใช่โรคซึมเศร้าแต่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจที่เกิดจากความเครียดเรื้อรังในการทำงาน.. มีอาการหลัก 3 อาการ-รู้สึกสูญเสียพลังงาน มีภาวะอ่อนเพลียเวลาทำงาน-มีความรู้สึกต่อต้านและมองตนเองในทางลบ ขาดแรงจูงใจในการทำงาน-มีปฏิสัมพันธ์ในการทำงานที่แย่ลง

โรค NCDs คืออะไร กลุ่มโรค NCDs (Noncommunicable diseases หรือโรคไม่ติดต่อ) เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิตอย่างไม่ระมัดระวัง นานวันเข้าสะสมไปเรื่อย ๆ ก็จะส่งผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบไม่รู้ตัวได้ หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลา ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย และคนรอบข้าง กลุ่มโรค NCDs ประกอบด้วย -โรคเบาหวาน -โรคความดันโลหิตสูง -โรคไขมันในเลือดสูง -โรคอ้วน ลงพุง -โรคหัวใจและหลอดเลือด -โรคถุงลมโป่งพอง – โรคมะเร็ง พฤติกรรมเสี่ยงโรค NCDs -การรับประทานอาหาร รสจัด เช่น หวานจัด มันจัด เค็มจัด อาหารปิ้งย่าง ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ – สูบบุหรี่ -ไม่ออกกำลังกาย -นอนดึก -ความเครียด ผู้ที่มีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตเช่นนี้จึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค NCDs ได้มากกว่าคนอื่นๆ กลุ่มโรค NCDs สามารถป้องกันได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต หันมาดูแลสุขภาพร่างกาย รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควบคุมน้ำหนักตัว และตรวจสุขภาพเป็นประจำ ข้อมูลโดย ผศ.นพ.อนุชาติ มาธนะสารวุฒิ อาจารย์พิเศษภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

“การบริหารเงิน” ...ไม่ยากอย่างที่คิด!!! เคยได้ยินกันไหมครับ “หลักการบริหารเงินแบบ 6 Jars System of Money Management” แปลเป็นไทยว่า “การบริหารเงินแบบ 6 ขวดโหล” ซึ่งเป็นแนวคิดที่พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 2007 โดย T. Harv Eker นักเขียนผู้เป็นเจ้าของหนังสือขายดีระดับโลกที่ชื่อว่า “Secrets of the Millionaire Mind (ถอดรหัสลับ สมองเงินล้าน)” นั่นเอง T. Harv Eker เสนอแนวคิดที่เรียบง่าย เน้นให้ความสำคัญกับการแบ่งรายได้ที่ได้รับทุกครั้งออกตามความต้องการทางการเงินเป็น 6 ส่วน ซึ่งเปรียบเสมือนกับการแบ่งเงินที่ได้รับมาใส่ไว้ในขวดโหลจำนวน 6 ใบ (Money in the Jars) โดยในแต่ละโหลจะเป็นสัญลักษณ์แทนความต้องการทางการเงินที่คลอบคลุมชีวิตแทบทุกเรื่องของคนๆ หนึ่งเอาไว้แล้ว (ซึ่งอาจมีระยะเวลาในการใช้จ่าย การออมเงิน และการลงทุนแตกต่างกัน) และมีการกำหนดสัดส่วนของเงินที่ต้องแบ่งคิดเป็นร้อยละของรายได้ในแต่ละโหลไว้อย่างชัดเจน โดยมีรายละเอียดดังนี้ครับ ขวดโหลใบที่ 1 : เงินสำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน (Necessity Account) ตามวิถีชิวิต (Life Style) ของแต่ละคน เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าโทรศัพท์ รวมถึงค่าใช้จ่ายรายเดือนที่จำเป็นต่างๆ เช่น ค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า เป็นต้น ถือเป็นรายจ่ายที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ใดๆ กลับคืนมา โดยคิดเป็น 55% ของรายได้ทั้งหมดที่ได้รับ ขวดโหลใบที่ 2 : เงินสำหรับใช้จ่ายส่วนตัวเพื่อซื้อความสุขสนองความชอบให้แก่ตนเอง (Play Account) เช่น ค่าดูหนัง ค่าช็อปปิ้ง และท่องเที่ยว เป็นต้น โดย 10% ของรายได้ทั้งหมดที่ได้รับจะถูกแบ่งอยู่ในโหลใบนี้ ถือเป็นรายจ่ายเพื่อให้รางวัลชีวิตแก่ตนเองจากการทุ่มเทกับการทำงานหนักมาตลอด ซึ่งสามารถนำมาใช้จ่ายได้อย่างอิสระเพื่อทำอะไรก็ได้ที่สร้างความสุขให้แก่ชีวิตตนเองครับ ขวดโหลใบที่ 3 : เงินสำหรับการลงทุนเพื่อให้บรรลุอิสรภาพทางการเงิน (Financial Freedom Account) ถือเป็นรายจ่ายที่ก่อให้เกิดรายได้กลับคืนมาในอนาคต ซึ่งเป็นได้ทั้งการลงทุนประกอบธุรกิจ หรือการลงทุนในตราสารทางการเงินประเภทต่างๆ เช่น หุ้น กองทุนรวม ทองคำ หุ้นกู้ สลากออมสิน เป็นต้น แต่ถ้าจะให้ดีก็ต้องลงมือศึกษาทางเลือกในการลงทุนที่เหมาะสมกับตนเองให้ดีเสียก่อน เพราะการลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยงที่จะขาดทุน หรือหมดตัวได้ “นอกจากนี้ ยังต้องมีวินัยในการลงทุนอีกด้วยถึงจะมีโอกาสที่เงินลงทุนจะงอกเงยจนบรรลุอิสรภาพทางการเงินตามที่ตั้งหวังไว้ โดยรายจ่ายส่วนนี้คิดเป็น 10% ของรายได้ทั้งหมดที่ได้รับ” ขวดโหลใบที่ 4 : เงินลงทุนเพื่อการศึกษาหาความรู้ใส่ตัว (Education Account) โดยคิดเป็น 10% ของรายได้ทั้งหมดที่ได้รับ ถือเป็นรายจ่ายที่ช่วยต่อยอดความสามารถ เพิ่มทักษะ และพัฒนาความรู้ให้แก่ตนเอง เช่น ค่าเรียนศึกษาต่อ ค่าซื้อหนังสือ ค่าฝึกอบรมในหัวข้อต่างๆ เป็นต้น ซึ่งตรงกับที่ Benjamin Franklin นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังระดับโลกได้เคยกล่าวไว้ว่า “An Investment in Knowledge Pays the Best Interest” แปลเป็นไทยว่า "การลงทุนศึกษาหาความรู้ช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดีที่สุด” นั่นเอง ขวดโหลใบที่ 5 : เงินออมระยะยาวสำหรับใช้ในอนาคต (Long-term Saving for Spending Account) เป็นการสะสมเงินในระยะยาวเพื่อไว้ใช้ซื้อของขนาดใหญ่ มูลค่าสูงในอนาคต เช่น เงินดาวน์ซื้อบ้าน หรืออาจเป็นเงินออมที่จ่ายให้ตัวเอง (Pay Yourself First) อย่างสม่ำเสมอในระยะยาวเพื่อไว้ใช้ในยามเกษียณ หรือยามฉุกเฉิน โดยคิดเป็น 10% ของรายได้ที่ได้รับ ขวดโหลใบสุดท้าย : เป็นเงินในส่วนที่เหลือ 5% ของรายได้ที่ได้รับ เน้นไปที่การให้ (Give Account) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ก็เพื่อช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่กัน และตอบแทนให้แก่สังคม ด้วยการนำเงินส่วนนี้ไปบริจาคการกุศล หรือทำบุญ หรือแบ่งปันสิ่งดีๆ ให้แก่คนรอบข้าง ทั้งนี้ก็เพราะ T. Harv Eker มีความเชื่อว่า “ยิ่งให้ ก็จะยิ่งได้รับคืน (By Giving Away Money, the Universe Will Reward You by Giving You Back More)” เห็นมั้ยครับว่า “แนวคิดบริหารเงิน” แบบ 6 ขวดโหล นี้ไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใดเลย ใครๆ ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ไม่ว่าจะมีรายได้มากน้อยเพียงใด จึงอยากให้ได้ลองลงมือทำกันดูครับ แหล่งที่มาข่าว wealthy thai https://www.wealthythai.com/web/contents/WT200700287

ราทุกคนต่างก็ต้องการมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่นอกจากการดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองให้ดีแล้ว ผลวิจัยเขายังบอกมาอีกด้วยว่า พฤติกรรมของตัวเราเองก็มีส่วนทำให้เรามีอายุยืนได้เหมือนกัน แถมยังช่วยให้เรามีบั้นปลายชีวิตที่มีความสุขมากขึ้นอีกด้วยนะ ส่วนลักษณะนิสัยที่ทำให้อายุยืนจะมีอะไรบ้าง

พฤติกรรมการนอนที่ควรปฏิบัติเป็นประจำมีดังนี้ คือ สิ่งที่ควรทำ 1. เข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลามากที่สุด แม้ในวันหยุด 2. เข้านอนเมื่อง่วง 3. ใช้เตียงนอนสำหรับการนอน และกิจกรรมทางเพศ 4. จดบันทึกความคิด ปัญหาที่เข้ามาในสมองก่อนการเข้านอน เพื่อช่วยหยุดความคิด และไว้จัดการทำวันรุ่งขึ้น 5. ลุกออกจากที่นอนถ้าไม่หลับ ลุกออกไปทำกิจกรรมอื่นก่อน แล้วกลับเข้านอนใหม่เมื่อพร้อม 6. มีกิจกรรมเบาๆ และผ่อนคลายก่อนเข้านอนเป็นประจำ เช่น การยืดเส้นยืดสาย การฝึกลมหายใจ ไหว้พระสวดมนต์ 7. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ต้องไม่ใกล้เวลาเข้านอนเกินไป อย่างน้อย 2 ถึง 4 ชั่วโมง 8. จัดห้องนอนให้เหมาะกับการนอน เช่น เงียบ สงบ ไม่สว่างเกินไป ไม่เย็นเกินไป สิ่งที่ไม่ควรทำ 1. หมกหมุ่น หรือพยายามข่มตานอนให้หลับ พลิกไปมาบนที่นอน 2. อยู่บนที่นอนถ้ายังไม่ง่วง หรือยังไม่พร้อมที่จะนอน 3. เข้านอนในขณะที่ยังเครียด กังวล มีเรื่องต้องคิด 4. นอนเล่นหรือทำกิจกรรมเพื่อรอหลับ เช่น โทรศัพท์ คิดงาน 5. อยู่กับหน้าจอทีวี คอมพิวเตอร์ หรือมือถือ จนถึงเวลาเข้านอน แสง และเนื้อหาต่างๆ จะรบกวนการนอนได้ 6. กินอาหารมื้อหนักใกล้เวลานอน 7. ดูนาฬิกาเพื่อทราบเวลาบ่อยๆ กลางดึก 8. ดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนก่อนเข้านอน 9. ใช้แอลกอฮอล์เพื่อช่วยให้นอนหลับ

ขับถ่ายดี สุขภาพปัง!  สิ่งสำคัญรองจากการรับประทานอาหารเพื่อดำรงชีวิต คงหนีไม่พ้นเรื่องการขับถ่าย ไม่ว่าจะเป็นอุจจาระหรือปัสสาวะ หากไม่มีการขับของเสียออกจากร่างกาย หรือยังมีของเสียตกค้างอยู่ในลำไส้ ของเสียเหล่านั้นจะกลายเป็นสารพิษหมักหมมสะสม นานวันเข้าก็จะก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมา เคล็ดลับขับถ่ายอย่างไรให้สุขภาพดี มีอะไรบ้าง ลองไปดูกันเลย 1.กินอาหารที่มีเส้นใยมาก ๆ เช่นผัก ผลไม้ 2.การออกกำลังกาย เดิน หรือวิ่ง จะช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ได้ 3.ไม่กินข้าวคำน้ำคำ หรือกินอาหารขณะเครียด 4.เข้าห้องน้ำทันทีเมื่อมีความรู้สึกอยากถ่ายและฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลา 5.ดื่มน้ำอย่างน้อย วันละ 4-8 แก้ว 6.หลีกเลี่ยงการใช้ยาระบาย และยาที่ก่อให้เกิดอาการท้องผูก เช่น ยาลดกรดบางชนิด ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.thaihealth.or.th

สูตรลับอาหารลดน้ำหนัก หากสามารถจำกัดพลังงานจากอาหารได้ไม่เกิน 800 แคลอรี่ต่อวันจะช่วยลดน้ำหนักได้อย่างรวดเร็วประมาณ 10 – 15% ของน้ำหนักตัวเดิมภายใน 3 เดือน แต่การลดน้ำหนักวิธีนี้อาจทำให้เกิดการขาดสารอาหารได้ จึงจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ทางด้านโภชนาการเกี่ยวกับการรับประทานวิตามินและเกลือแร่เสริม และหลังจากหยุดรับประทานอาหารจำกัดพลังงาน จะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นกลับมาอย่างรวดเร็วได้มากกว่าการค่อย ๆ ลดน้ำหนัก ดังนั้นอาจเลือกวิธีลดพลังงานจากอาหารที่เคยกินปกติวันละ 500 – 750 แคลอรี่ต่อสัปดาห์ หรือมื้อละ 200 – 250 แคลอรี่ต่อวัน ซึ่งการลดน้ำหนักวิธีนี้จะช่วยให้ลดน้ำหนักได้สัปดาห์ละ 0.5 – 1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์  ยกตัวอย่างเช่น หากปกติรับประทานอาหารกลางวัน โดยมีข้าว 2 ทัพพี แอปเปิล 2 ผล ปลาทอด 8 ช้อนโต๊ะและผัดผัก 1 ทัพพี พลังงานที่ได้รับจากมื้ออาหารนี้จะเท่ากับ 580 แคลอรี่ แต่หากลดแอปเปิลจาก 2 ผลเหลือ 1 ผล และเปลี่ยนปลาทอดเป็นปลาต้ม เช่น ปลานึ่งมะนาวหรือต้มยำปลาน้ำใส จะทำให้พลังงานที่ได้รับเหลือมื้อละ 358 แคลอรี่ ในการทานอาหารปกติประจำวัน การกินอาหาร 1 มื้ออาจทำให้ได้รับพลังงานมากกว่า 300 – 700 กิโลแคลอรี่ หากต้องการกำหนดพลังงานที่แน่นอนจากอาหารอาจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารหรือปรึกษานักกำหนดอาหารเพื่อวางแผนการบริโภคอาหารที่เหมาะสมเป็นรายบุคคล

กรมการแพทย์เตือนการแคะหูหรือปั่นหูบ่อย เสี่ยงต่อการติดเชื้อในหู และอาจทำให้แก้วหูทะลุได้ แนะควรดูแลสุขภาพหูอย่างถูกวิธี                 นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าขี้หูเป็นสิ่งสกปรกในร่างกายที่ต้องกำจัดออก จึงแคะหรือปั่นหูบ่อยๆ ซึ่งความเป็นจริงแล้ว ขี้หูมีประโยชน์ในการช่วยป้องกันสิ่งแปลกปลอม ช่วยเคลือบช่องหู และมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ถ้าไม่มีขี้หู จะทำให้รูหูแห้งและคัน รูหูของคนเรามีคุณสมบัติในการทำความสะอาดตัวเอง โดยขี้หูและผิวหนังที่หลุดลอกจะค่อยๆ เคลื่อนที่ออกมาที่ปากรูหูและหลุดออก ดังนั้นการทำความสะอาดหูโดยใช้ไม้พันสำลีแคะหู ใช้น้ำหยอดหู จึงไม่มีความจำเป็นยกเว้นในบางคน ขี้หูเหนียวและเคลื่อนที่ออกมาช้า ทำให้ขี้หูรวมตัวกันเป็นก้อนภายในรูหู (Cerumen impaction) ทำให้มีอาการหูอื้อ ปวดแน่นในหู กรณีนี้ควรพบแพทย์ เพื่อทำความสะอาดรูหู ไม่ควรแคะเอง เพราะจะทำให้ขี้หูอุดตันถูกดันลึกมากขึ้น นอกจากนี้การแคะหูบ่อยๆ อาจทำให้เกิดรอยถลอกหรือแผลในรูหู ก่อให้เกิดการอักเสบของหูชั้นนอก ทำให้มีอาการปวดหู หูอื้อ มีน้ำไหลจากหู และอาจมีเยื่อแก้วหูทะลุได้ กรณีขณะแคะหูอยู่แล้วมีคนหรือสัตว์ชนแขน หรือเดินชนอะไรก็ตาม แล้วทำให้ไม้พันสำลีถูกกระแทกเข้าไปถึงเยื่อแก้วหู ดังนั้น การดูแลรักษาหู คือหลีกเลี่ยงการแคะ แกะ เกาหู ใช้เพียงผ้าเช็ดทำความสะอาดบริเวณนอกรูหูเท่านั้น                 นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี  กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การรักษาหูชั้นนอกอักเสบที่ง่ายที่สุดคือการป้องกัน โดยเฉพาะหลีกเลี่ยงการแคะหูบ่อยๆ และเมื่อเกิดการอักเสบของหูชั้นนอกแล้ว การรักษาทำได้โดยการทำความสะอาดหูโดยแพทย์เฉพาะทางหู คอ จมูก การใช้ยาปฏิชีวนะชนิดหยอด และให้ยาแก้อักเสบเพื่อลดอาการปวดในรูหู  กรณีที่มีเยื่อแก้วหูทะลุจากอุบัติเหตุแคะหู ทำให้การได้ยินแย่ลง ซึ่งรูทะลุสามารถปิดเองได้ โดยใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ระหว่างนี้ผู้ป่วยต้องระวังป้องกันไม่ให้น้ำเข้าหู แต่ถ้าเยื่อแก้วหูทะลุไม่ปิด แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเพื่อปะเยื่อแก้วหูให้ผู้ป่วย กรณีมีข้อสงสัยหรือมีปัญหาเรื่องหู เช่น การได้ยินแย่ลง มีน้ำไหลจากหู ปวดหู มีเสียงดังผิดปกติในหู หูอื้อ สามารถปรึกษาแพทย์หู คอ จมูก เพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง

บัญญัติ 10 ประการเพื่อสุขภาพตาที่ดี ปัจจุบันไลฟ์สไตล์ของคนเรามีผลกระทบกับสุขภาพของดวงตา แนะนำ“บัญญัติ 10 ประการเพื่อสุขภาพตาที่ดี” ดังนี้

“ดวงตา”  เป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกายช่วยในการมองเห็น  ถ้าตามองไม่เห็นหรือสายตาเลือนราง  ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน  หรือประกอบภารกิจในชีวิตประจำวัน สมัยนี้ คนส่วนใหญ่มักทำงานด้วยคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค  แท็ปเล็ต  ใช้สมาร์ทโฟนกันเป็นเวลานานการที่สายตาต้องเพ่งหน้าจอนานๆทำให้เกิดปัญหาด้านสายตา เช่น ปวดตา ตามัว ตาแห้ง สายตาล้าสายตาสั้น  รวมทั้งผลข้างเคียง  เช่นปวดศีรษะปวดหลัง  ปวดเหมื่อยคอ  บ่า  ไหล่  ซึ่งวิธีถนอมสายตาที่ดีสามารถทำได้ดังนี้ กระพริบตาให้ถี่ขึ้น  ลดอาการตาแห้ง  หรือใช้น้ำตาเทียมหยอดตาเพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น จัดวางคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมให้หน้าต่างอยู่ทางด้านข้างของจอคอมพิวเตอร์เพื่อลดแสงตกสะท้อนบนหน้าจอ  จัดระดับจอภาพจากจุดศูนย์กลางของจอให้อยู่ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ  4-9  นิ้ว  ไม่ควรให้จอภาพอยู่สูงหรือต่ำเกินไป เลือกใช้ตัวอักษรใหญ่เวลาพิมพ์งาน  และปรับความเข้มของตัวอักษรให้มากขึ้น  โดยเลือกตัวอักษรและความเข้มที่เหมาะสม เลือกแว่นที่เหมาะสมกับการใช้คอมพิวเตอร์ที่ผลิตมาเพื่อกรองแสงจากหน้าจอ  โดยเฉพาะและใช้เลนส์สีเขียวอ่อน  ที่ช่วยให้สบายตา  และลดแสงสะท้อนจากจอภาพ พักสายตาทุกๆ ชั่วโมงโดยเปลี่ยนอิริยาบถหรือลุกขึ้นยืดเส้นยืดสายเพื่อพักสายตาและป้องกัน  อาการปวดเมื่อยจากการใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย และถนอมสายตาให้ใช้งานได้อย่างเป็นปกติ

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy